Adsense

บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ประวัติหลวงปู่ใหญ่พระครูโลกอุดร [2]


เรามาวิพากษ์วิจารณ์ประวัติของพระครูโลกอุดรจากเว็บของ“วัดถ้ำขวัญเมือง” กันต่อ ชื่อเรื่องของบทความที่นำมาวิพากษ์วิจารณ์ก็คือ “ประวัติหลวงปู่ใหญ่พระครูโลกอุดร” 

วิเคราะห์คำว่า “อรหันต์”

อรหัน” หมายถึง ผู้สำเร็จอภิญญาโลกีย์ หรืออภิญญาห้า ไม่สามารถทำอาสวะให้สิ้น ทุกอย่างมีอิทธิวิธีแบบพระอรหันต์ขีณาสพทั้งสิ้น พิจารณาอย่างเราๆ ปุถุชนมองไม่ออก

ประเภทนี้ การกระทำตนแบบโพธิสัตว์ เช่น โป๊ยเซียนโจ๊วซือทั้ง 8 พระแม่กวนอิม ฯลฯ และประเทศลาวก็มี สำเร็จลุน (ไม่ใช่สมเด็จลุน ท่านมิได้เป็นพระราชาคณะ) สามเณรคำ

ดังนั้น “อรหัน” จึงแปลว่า ผู้วิเศษตามคำนิยามในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน อรหันทองคำ จั๊บโป้ยล่อฮั่น ตั๊กม้อ โจ๊วซือ ก็ประเภท “อรหัน” นี่แหละ

ข้อความนี้ ผิดไม่รู้จะผิดอย่างไร  คือ คนเขียนต้องการจะโกหกหลอกลวง และโดยมากคนพวกนี้ ความรู้ก็มีไม่มากนัก  การโกหกก็สามารถจับผิดได้อย่างง่ายๆ

ที่คนไทยจับผิดไม่ค่อยได้ก็เป็นเพราะว่า ไม่ฟัง ไม่อ่านอย่างพยายามจับผิด แต่ส่วนใหญ่แล้ว “เชื่อไปก่อนตั้งแต่ยังไม่พบกัน

คือ เชื่อตามกันไป ตามที่เขาเล่ามา  พวกโกหกหลอกลวงแบบนี้ มันจึงมีทางทำมาหากินมาโดยตลอด

อรหันนั้นมันเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ เป็นตัวแบบนี้


 วิกิพิเดีย เขียนไว้อย่างนี้

อรหัน (/ออ-ระ-หัน/) เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ชนิดหนึ่ง มีรูปร่างตัวและปีกเป็นนก มี 2 เท้า แต่มีศีรษะเป็นมนุษย์หรือยักษ์ คล้ายกับกินรี

โดยปกติมักพบตามภาพจิตรกรรมฝาผนังต่าง ๆ เช่น จิตรกรรมฝาผนังที่อุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร หรือภาพลายรดน้ำตามตู้พระธรรม เป็นต้น

ข้อความข้างบนนั้น มีคำว่า “สามเณรคำ” ไม่รู้ว่าเป็นคนๆ เดียวกับสมีเณรคำที่เป็นข่าวโด่งดังเมื่อหลาเดือนที่ผ่านมา และตอนนี้หายตัวไปแล้ว

ผมก็ไม่กล้าที่จะวิเคราะห์ครูบาอาจารย์ให้เกินเหตุ เพียงแต่ว่าจะชี้แนะตามหลักวิชาให้หูตาสว่างตามประวัติกล่าวว่า พระโสณะและพระอุตตระเป็นพระอรหันต์

ส่วน “พระเทพโลกอุดร” มาจากคำ อุตร แปลว่า ผู้เหนือโลกย์ พระโสณะบรรลุธรรมก่อนพระอุตตระ ซึ่งเป็นพี่ชายร่วมสายโลหิต จึงเรียกว่า “พระโสณอุตตร” ไม่เรียก “พระอุตตรโสณ”

ตรงนี้ ไม่ใช่เป็นการวิเคราะห์ครูบาอาจารย์หรอก เป็นหารหลอกลวงโดยตรง

คำว่า “หลวงปู่ใหญ่” หมายถึง “พระอุตตรเถระเจ้า” เป็นพระอรหันต์ยังไม่จบกิจ แบบพระแม่กวนอิมโพธิสัตว์ ยังค้ำจุนพระศาสนา ไปกว่าจะสิ้นพุทธธันดร (พ.ศ. 5000)

ถ้าจบกิจแล้วท่านก็หมดหน้าที่ เพียงแต่ท่านไม่ต้องสร้างบารมีต่อแบบอีกสององค์ คือ หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หลวงปู่หน้าปาน ซึ่งยังต้องบำเพ็ญเพียรสร้างบารมีต่อ

ท่านมิได้ประกาศตนแจ้งชัด เพียงแสดงปริศนาธรรม เช่น หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า ซึ่งมีอายุมากกว่าหลวงปู่ใหญ่ด้วยซ้ำไป มาในรูปหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา บ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

แสดงปริศนาธรรม หลวงปู่ขรัวขี้เถ้าเผาแหลก มีอะไรเผาจนหมดจนกลายเป็นขี้เถ้า ให้รู้ว่าแม้แต่ตัวเราต่อไปก็ไม่พ้นการเป็นขี้เถ้า

หลวงปู่หน้าปาน ท่านก็บอกอยู่โต้งๆ แล้วว่า ท่านเป็นพระสำเร็จ (อรหันต์) มาอาศัยร่างท่านมหาชวน (หลวงพ่อโอภาสี) เพื่อบำเพ็ญบารมีต่อ

ท่านอภิชิโต ภิกขุ กล่าวกับผมว่า นับตั้งแต่เป็นศิษย์หลวงปู่ใหญ่ครั้งยังบรรพชาเป็นสามเณร จนอายุได้ 70 ปี ยังศึกษาไม่จบ

ท่านเป็นอาจารย์ที่ผมรักและเคารพมาก ผมไม่อยากให้คนมีจิตฟุ้งติดฤทธิ์มากนัก เพียงอยากให้เป็นความรู้ในด้านสารคดี อรรถคดีพอสมควร มิฉะนั้นเรื่องจะยาวเกินควร

ทั้งหมดทั้งปวงที่เขียนมาข้างต้นนั้น โกหกทั้งสิ้น  เป็นการสร้างเรื่องเพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ โดยการอ้างชื่อพระดังๆ ที่มรณภาพไปแล้ว  ใครสงสัยก็ไม่สามารถไปตรวจสอบได้

ปริเฉทหนึ่ง

กล่าวย้อนไปถึงอดีตกาล พุทธศักราชผ่านพ้นไป 303 ปี (ตามหลักฐานบันทึกในหนังสือมหาวงศ์พงศาวดารลังกา คำบรรยายของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์) อดีตภัณฑารักษ์เอก กรมศิลปากร)

และตามหลักฐานของวัดเพชรพลี (บันทึกอักษรเทวนาครี ขุดค้นพบ ณ ซากศิลา วัดคูบัว ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี) ว่า พระพุทธศาสนาได้เริ่มแพร่เข้าสู่แคว้นสุวรรณภูมิในปีพุทธศักราช 235 ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันถึง 68 ปี

พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงกระทำตติยสังคายนาพระไตรปิฎก คือ การชำระพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ครั้นแล้วจึงอาราธนา พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ องค์อรหันต์เป็นประธานคัดเลือกบรรดาพระอรหันต์เถระออกทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ ดังนี้

1. พระมัชฌันติกเถระ ไปยังกัสสมิรและคันธารประเทศ (คือประเทศแคชเมียร์และอัฟกานิสสถาน ในปัจจุบัน) แห่งหนึ่ง

2. พระมหาเทวเถระ ไปยังมหิสมมณฑล (คือแว่นแคว้นทางใต้ ลำน้ำโคทาวดี อันเป็นประเทศไมสอหรือไมเซอร์ ในปัจจุบัน) แห่งหนึ่ง

3. พระรักขิตเถระ ไปยังวนวาสีประเทศ (คือแว่นแคว้นกะนาราเหนือ อันเป็นเขตเมืองบอมเบย์ ในปัจจุบัน) แห่งหนึ่ง

4. พระธรรมรักขิตเถระ ไปยังปรันตกประเทศ (คือแว่นแคว้นตอนชายทะเลด้านเหนือเมืองบอมเบย์ ในปัจจุบัน) แห่งหนึ่ง

5. พระมหาธรรมรักขิตเถระ ไปยังมหารัฐประเทศ (คือแว่นแคว้นตอนเหนือของลำน้ำโคทาวารี) แห่งหนึ่ง

6. พระมหารักขิตเถระ ไปยังโยนกประเทศ (คือบรรดาหัวเมืองต่างๆ ที่พวกโยนกได้ครองความเป็นใหญ่ในดินแดนประเทศเปอร์เซีย ในปัจจุบัน) แห่งหนึ่ง

7. พระมัชฌิมเถระ ไปยังหิมวันตประเทศ (คือมณฑลซึ่งตั้งอยู่เชิงเขาหิมาลัย มีเนปาลราช เป็นต้น) แห่งหนึ่ง

8. พระโสณเถระกับพระอุตรเถระ ไปยังสุวรรณภูมิประเทศ แห่งหนึ่ง

ข้อถกเถียงเรื่องสุวรรณภูมิเป็นมาช้านาน ฝ่ายไทยอ้างนครปฐมเป็นราชธานีของสุวรรณภูมิ พม่าอ้างเมืองสะเทิมอันเป็นมอญฝ่ายใต้เป็นสุวรรณภูมิ เขมรและลาวต่างก็อ้างว่าประเทศของตนคือสุวรรณภูมิ

แต่ใครจะอ้างอย่างไร ก็ล้วนมีส่วนถูกด้วยกันทั้งสิ้น คือ ท่านศาสตราจารย์เดวิดส์ อธิบายว่า เริ่มแต่รามัญประเทศไปจรดเมืองญวน และตั้งแต่พม่าไปจรดแหลมมะลายู หรือที่เรียกว่าอินโดจีน เป็นสุวรรณภูมิทั้งนั้น

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงรับสั่งว่าคำที่เรียกสุวรรณภูมิประเทศนั้น จะหมายรวมดินแดนที่มีเป็นประเทศมอญและไทยภายหลังทั้งหมด เหมือนอย่างที่เราเรียกว่า อินเดีย เป็นชมพูทวีปก็เป็นได้

ตรงนี้ก็ผิด คำว่า “ชมพูทวีป” หมายถึง จักรวาลของเราทั้งหมด ไม่ใช่แค่ประเทศอินเดีย

เพราะฉะนั้น ใครในแหลมอินโดจีนจะอ้างว่า ประเทศของตนเป็นสุวรรณภูมิ จึงเป็นการถูกต้องด้วยกันทั้งนั้นไม่มีปัญหา

ที่ไทยอ้างนครปฐมเป็นราชธานีนั้น ก็เพราะจังหวัดนครปฐมมีเนื้อที่ภูมิประเทศกว้างขวางและมีโบราณวัตถุสถานสร้างไว้มาก แต่จะเรียกชื่อเมืองหลวงว่ากระไรในครั้งกระนั้นได้แค่สันนิษฐาน เห็นจะเรียกสุวรรณภูมินั่นเอง

ชื่อนี้จึงได้แต่เป็นที่รู้กันแพร่หลายไปถึงอินเดียและลังกา จนเป็นเหตุให้ใช้ชื่อนี้ในหนังสือมหาวงศ์ฯ ว่า พระโสณะกับพระอุตระได้อัญเชิญพระพุทธศาสนามาประดิษฐานสถานที่เมืองสุวรรณภูมิ

และเป็นเหตุให้เรียกชื่อมหาสถูปที่เมืองนั้นว่า “พระปฐมเจดีย์” หมายความว่า เป็นพระเจดีย์องค์แรกที่ได้สร้างขึ้นในแถบประเทศตะวันออกนี้

ส่วนคำจารึกอักขรเทวนาครี ฉบับวัดเพชรพลี ปรากฏข้อความที่พิศดารยิ่งขึ้น โดยกล่าวถึงคณะพระธรรมฑูตได้เดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยทางเรือ

ประกอบด้วย พระโสณะ พระอุตตระ พระมูนิยะ พระฌานียะ พระภูริยะ สามเณรอิสิจน์ สามเณรคุณะ พระสามเณรนิตตย เขมกะอุบาสก อนีฆาอุบาสิกา อดุลยอำมาตย์และคุณหญิงอดุลยา พราหมณ์และนางพราหมณี ผู้คนอีก 38 คน ได้มาพักที่วัดช้างค่อม (นครศรีธรรมราช)

เมื่อวันขึ้น 14 ค่ำ เดือนอ้าย พ.ศ. 235 ออกบิณฑบาต วันขึ้น 15 ค่ำ แล้วเทศนาพรหมชาลสูตรและได้วางวิธีอุปสมบทญัตติจตุตถกรรมวาจา โดยใช้อุทกเขปเสมาหรือเสมาน้ำและได้วางเพศชีไทยโดยถือแบบเหล่าพระสากิยานี

ซึ่งเป็นต้นของพระภิกษุณีโดยบวชหรือบรรพชาไม่มีเรือน ออกจากเรือน (อาคารสมา อนาคาริยปพพชชา) ได้วางวิธีสวดปาติโมกข์หรืออุโบสถกรรม ปวารณากรรม

เมื่อพระเจ้าโลกละว้าราชา (เจ้าผู้ครองแคว้นสุวรรณภูมิ) รับสั่งให้ มนต์ขอมพิสนุ ขอมเฉย ขอมสอน ขอมเมือง สร้างวัดมหาธาตุ ท่านได้วางวิธีกำหนดนิมิตผูกขันธ์สีมา พ.ศ. 238 เดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำ

ขณะอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ท่านได้สอนพระบวชใหม่ให้ท่องพระปาฏิโมกข์จบหลายองค์ แล้วจึงวางวิธีสวดสาธยายโดยฝึกซ้อมให้คล่อง เมื่อคล่องแล้วจึงจะสัชณายกันจริงๆ ท่านให้มนต์ขอมปั้นพระพุทธรูปด้วยปูนขาวเป็นพระประธานในโรงพิธี

เมื่อเรียบร้อยแล้วท่านวางวิธีกราบสวดมนต์ไหว้พระ เห็นดีแล้วจึงให้สร้างพระพุทธรูปประจำพระอุโบสถ จึงเป็นธรรมเนียมสืบต่อกันมา ท่านได้วางวิธีกฐินและธุดงค์ไปในเมืองต่างๆ คือ การเที่ยวจาริก

การสร้างพระพุทธรูปในสมัยดังกล่าวนี้ ก็ล้วนเป็นสิ่งสมมุติ มีพระพุทธรูปเป็นองค์สมมุติ พระสงฆ์ก็เป็นเพียงสมมุติสงฆ์

ส่วนพระธรรมนั้นเป็นเพียงเสียงสวด ท่านจึงใช้วงล้อเกวียนประดิษฐ์เป็นธรรมจักรแทนพระธรรม กับมี มิค (มิ–คะ) คือสัตว์ประเภท กวาง ฟาน หรือเก้ง เป็นเครื่องหมาย ในสมัยสุวรรณภูมิ

พระพุทธรูปที่มีกวางกับธรรมจักรกลับไม่มี การสร้างหรือออกแบบในสมัยนั้น มีอยู่สี่ลักษณะด้วยกันคือ (ประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมจักร และปรินิพพาน) มีอักษรเทวนาครีจารึกระบุพระนามว่า โลกกน แบบประภามณฑลมี 3 วงซึ่งเป็นเครื่องหมายพระนามว่า “โลก” คือ วัฏฏ 3 แบบโปรดสหาย พระยศ ส่วนปางมารวิชัยและปางสมาธิมีทุกสมัย

ต่อมาในปี พ.ศ. 239 พระโสณะกับพระเจ้าโลกละว้าราชา ได้ส่งพระภิกษุไทย 10 รูป มีพระญาณจรณะ (ทองดี) เป็นหัวหน้า 3 รูป อุบาสก อุบาสิกา ไปเรียนและศึกษา ณ กรุงปาตลีบุตรแคว้นมคธ นับเป็นเวลา 5 ปี

พระญาณจรณะ (ทองดี) ท่านนี้ปรากฏหลักฐานเพียงรูปของพระพิมพ์ มีลักษณะอวบอ้วนคล้ายพระมหากัจจายนเถระเจ้า ด้านหลังมีรูปพระ 9 องค์เป็นอนุจร หรือบวชทีหลัง

คนชั้นหลังเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเป็นองค์เดียวกับพระมหากัจจายนเถระเจ้า และเรียกเพี้ยนเป็นพระสังขจาย เรียกกันมานานนับพันๆ ปี

ศัพท์สังขจายไม่มีคำนิยามในพจนานุกรม พุทธสาวกทุกพระองค์จะมีนามเป็นภาษาบาลีทั้งสิ้น ไม่มีนามเป็นภาษาไทย พระญานจรณะ (ทองดี) บรรลุอรหันต์และจบกิจนานนับพันปีแล้ว

ปัญหาเช่นดังกล่าวนี้หากนำพระปิดตาขึ้นมาพิจารณาก็ยากที่จะตัดสินว่าเป็นพุทธสาวกองค์ใดกันแน่ อาจจะเป็นพระมหากัจจายนเถระเจ้า ปางเนรมิตวรกายก็ได้ อาจจะเป็นพระควัมปติเถระ ก็ได้ เป็นพุทธสาวกทรงเอตทัคคะด้วยกัน แต่เป็นคนละองค์ คำว่า พระควัมบดี ไม่มี)

เรื่องส่งพระไทยไปอินเดียเมื่อ พ.ศ. 239 นั้น ก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องจริง  น่าจะเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อจะขายพระมากกว่า

ลุปี พ.ศ. 245 พระเจ้าโลกละว้าราชาสิ้นพระชนม์ ตะวันทับฟ้าราชบุตรขึ้นครองราชย์ ทรงมีพระนามว่า ตะวันอธิราชเจ้า ถึงปี พ.ศ. 264 พระโสณเถระใกล้นิพพาน พระโสณเถระอยู่ ณ แดนสุวรรณภูมิ วางรากฐานธรรมวินัยในพระบวรพุทธศาสนา เป็นระยะเวลา 29 ปี และท่านนิพพานในปีนั้น

หลักฐานต่างๆ ตามที่กล่าวจารึกด้วยอักษรเทวนาครี ขุดพบที่โคกประดับอิฐ ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี พบรูปปั้นลอย องค์ลักษณะนั่ง ลักษณะนั่งห้อยเท้า มีลีลาแบบปฐมเทศนา มีเศียรโล้น

ด้านหนึ่งจารึกว่า โสณเถระ ด้านล่าง อุตตรเถระ ด้านล่างสุด สุวรรณภูมิ มีอยู่ด้วยกัน 5 องค์ ผู้ค้นพบทุบเล่น 3 องค์ เหลือเพียง 2 องค์ ตกเป็นสมบัติของวัดเพชรพลี

ส่วนครบชุด 5 องค์ คือ พระโสณเถระ พระอุตตรเถระ พระมูนียเถระ พระฌานียเถระ และพระภูริยเถระ ในท่านั่งแสดงธรรม

สมัยต่อมาในรัชกาลที่ 4-5 มีการสร้างแบบพระสมเด็จขึ้น แล้วเห็นเป็นพระสมเด็จผิดพิมพ์อีกด้วย จึงเป็นการสับสนสำหรับผู้ที่ไม่รู้จริง

จะเห็นได้ว่าตามหลักฐานบันทึก กล่าวเพียงพระโสณเถระ ไม่ได้กล่าวถึงพระอุตตรเถระ (อุตร ก็คือ อุดร) เป็นปัญหาว่า หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดรเป็นองค์ใดกันแน่

เพราะในสมัยปัจจุบันกล่าวถึงบรมครูพระเทพโลกอุดร ไม่มีใครรู้จักพระโสณะเถระ ข้อเท็จจริง ท่านทั้งสองเป็นพี่น้องร่วมสายโลหิต

องค์พี่คือพระอุตตระ มีร่างกายสันทัดองค์น้องคือพระโสณะ มีร่างกายสูงใหญ่ มีฉายาว่าขรัวตีนโต ถ้านำพระธาตุมาตรวจนิมิตจะบอกว่า โสณ-อุตตร ไม่แยกจากกัน

องค์น้องบรรลุอรหันต์ก่อนองค์พี่ แต่มีความเคารพองค์พี่มากต้องกราบองค์พี่ แต่เหตุที่บรรลุก่อนพี่ชายจึงเรียกว่า โสณ-อุตตร ไม่เรียกว่า อุตตร-โสณ

ฉะนั้น หลวงปู่ใหญ่ก็คือ พระอุตตระ นั่นเอง

ที่เขียนมาทั้งหมดนั้น ก็เพื่อจะมาสรุปดังกล่าว เพื่อการหลอกลวงประชาชนเท่านั้น

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี กล่าวพระนามขององค์ท่านว่า พระโสอุดรพระโลกอุดร

ด้วยเหตุนี้ทำให้ผมเกิดความคิดจัดกลุ่มพระเทพโลกอุดรขึ้น และเขียนเรื่องลงในวารสารพระเครื่อง โดยแบ่งกลุ่มออกดังนี้

กลุ่มที่ 1 มีพระโสณะ และพระอุตตระ, กลุ่มที่ 2 พระมูนียะ (หลวงปู่โพรงโพโพธิ์) เป็นเอกเทศ และกลุ่มที่ 3 พระณานียะ (หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) และพระภูริยะ (หลวงปู่หน้าปาน) รวมเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน แต่ไม่เป็นการถูกต้องตามข้อเท็จจริง

ตรงนี้ก็ชัดเจนขึ้นมาว่า  การโกหกทั้งหมดทั้งปวงที่เขียนมานั้น ก็เพื่อจะขายพระเท่านั้น